เพกา
เพกา เป็นพืชพื้นถิ่นที่มีมาตั้งแต่ดั้งเดิมของทวีปเอเชีย ซึ่งพบในอินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นครั้งแรก ในปัจจุบันสามารพบได้หลายประเทศ เช่น อินเดีย พม่า ไทย ลาว กัมพูชา มาเลเซีย รวมถึง จีนตอนใต้ด้วย ซึ่งมักจะพบเพกา ตามป่าเบญจพรรณ และป่าชื้นทั่วไป ส่วนในประเทศไทยนั้นสามารถพบเพกาได้ทุกภาคของประเทศ อย่างไรก็ตามในการนำเพกามาทำเป็นอาหารนั้น ดูเหมือนจะมีแต่ชาวไทยเท่านั้นที่นำมาบริโภค ส่วนประเทศอื่นๆ นั้นไม่พบข้อมูลในการนำมาบริโภคเป็นอาหารแต่อย่างใด
ลักษณะของเพกา
เพกา เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงกลางและเป็นไม้ กึ่งผลัดใบ หรือ ไม่ผลัดใบ สูง 5-12 เมตร ขนาดลำต้นประมาณ 10-30 เซนติเมตร เรือนยอดเล็ก กิ่งเปราะหักง่าย แตกกิ่งก้านน้อย ต้นที่มีอายุน้อยมีกิ่งใหญ่ตรงกลางกิ่งเดียว เปลือกเรียบ มีใบเป็นกลุ่มตรงกลาง คล้ายกับต้นปาล์ม ภายหลังจากออกดอก ลำต้นจะแยกเป็นกิ่งระเกะระกะ เปลือกต้น สีน้ำตาลครีมอ่อน หรือ เทาอ่อน แตกเป็นสะเก็ดสี่เหลี่ยม และแผลของใบยาวถึง 150 เซนติเมตร เกิดจากใบที่ร่วงไปแล้ว ลำต้น และกิ่งก้านมีรูระบายอากาศ กระจายอยู่ทั่วไป เปลือกลำต้นเรียบสีเทา มีรอยแผลเป็น จากการหลุดร่วงของใบ ใบประกอบแบบขนนก 3 ชั้น ปลายคี่ ใบขนาดใหญ่ ยาว 60-200 เซนติเมตร เรียงตรงข้ามกันอยู่บริเวณปลายกิ่ง ใบย่อยรูปไข่ หรือ รูปไข่แกมวงรี กว้าง 4-8 เซนติเมตร ยาว 6-12 เซนติเมตร ปลายยาว ขอบใบเรียบ ฐานใบสอบแคบ
สรรพคุณเพกา
- แก้ไอ
- ช่วยขับเสมหะ
- เป็นยาระบาย
- แก้ร้อน ในกระหายน้ำ
- ช่วยเจริญอาหาร
- ช่วยระงับไอ
- ใช้เป็นยาขับลม
- แก้ปวดท้อง
- แก้ปวดข้อต่างๆ
- เป็นยาสมานแผล