เจียวกู่หลาน
เจียวกู่หลานมีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย ในบริเวณที่มีภูมิประเทศเป็นป่าเขาที่มีความสูงระดับ 3 เป็นป่าเขาที่มีความสูงระดับ 300 – 3200 เมตร จากระดับน้ำทะเล ทางภาคตะวันออกของประเทศจีน และมีการปลูกเจียวกู่หลานกระจายไปยังประเทศเกาหลี ญี่ปุ่น และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยพบตามธรรมชาติที่ดอยอินทนนท์ และมีการนำมาปลูกทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ปัจจุบันมีเกษตรกรปลูกเป็นที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ชัยภูมิ จันทบุรีและนครราชสีมา เพราะมีสภาพพื้นที่รวมถึงสภาพอากาศเหมาะสมกับการปลูก
ลักษณะเจียวกู่หลาน
แบ่งได้เป็น 2 สายพันธุ์ คือ
1. เจียวกู่หลานป่าเป็นพืชที่ขึ้นตามธรรมชาติ รสชาติที่ได้จะมีรสขม
2. เจียวกู่หลานบ้าน คือ ปลูกตามแหล่งปลูกทั่วไป รสชาติจะมีรสขมปนหวาน
ต้นเจียวกู่หลาน
เจียวกู่หลานจัดอยู่พรรณไม้ล้มลุกตระกูลหญ้าแบบเถาเลื้อย ยาว ประมาณ 1 – 150 เซนติเมตร มีรากอยู่ใต้ดินเป็นรากเลื้อย เส้นเล็ก ยาวประมาณ 50 – 100 เซนติเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของรากประมาณ 1 เซนติเมตร ลำต้นเป็นข้อๆ มีมือเกาะตามข้อ มีขนบางๆ เล็กน้อย เลื้อยไปตามพื้นหรือเลื้อยพันกับพืชชนิดอื่นๆ
ใบเจียวกู่หลาน
ใบออกเรียงสลับ มักเรียบแบบขนนก กิ่งหนึ่งมีใบประมาณ 3 – 7 ใบ ลักษณะของใบเจียวกู่หลานเป็นรูปกลมรีหรือรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบกลม ส่วนขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อยเล็กน้อย ตรงกลางของใบยาวได้ประมาณ 4 – 8 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 2 – 3 เซนติเมตร เส้นใบล่างมีขนสั้นปกคลุม ใบ 2 ข้าง มักเรียงคู่กันเล็กกว่าใบตรงกลาง
ดอกเจียวกู่หลาน
ออกดอกเป็นกระจุกมีสีเหลืองเขียว โดยจะออกตามซอกใบ ดอกเจียวกู่หลานเป็นแบบแยกเพศแต่อยู่บนต้นเดียวกัน กลีบดอกเป็นเส้น ปลายแหลมยาว ได้ประมาณ 1 มิลลิเมตร ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน มีเกสรเพศเมีย 3 อัน
ผลเจียวกู่หลาน
ลักษณะของผลเจียวกู่หลานเป็นรูปทรงกลม ผลอ่อนเป็นสีเขียว ส่วนผลแก่เป็นสีเขียวออกดำ ผลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6 – 8 มิลลิเมตร ในผลมีเมล็ด ลักษณะเป็นรูปกลมรี ยาวได้ประมาณ 4 มิลลิเมตร เมล็ดจะเป็นเส้นย่น